top of page

ค่า RPM คืออะไร : รู้จักและเข้าใจการสร้างรายได้แบบมือโปร💰

Nov 3, 2024

โอลิเวียฮเยเย้เฮท

คลิกเพื่อรับชมวิดิโอ RPM คืออะไร? ทำยังไงถึงจะได้สูงๆ | Creator Q&A


ค่า RPM ของ YouTube

ค่า RPM (Revenue Per Mille หรือ Revenue Per Thousand) ของ YouTube เป็นการวัดผลรายได้ที่ครีเอเตอร์สามารถสร้างได้จากวีดิโอ โดยคิดเป็นจำนวนเงินที่ได้รับจากทุกการรับชม 1,000 ครั้ง ซึ่งค่า RPM นี้จะรวมรายได้จากการแสดงโฆษณาและการสมัครสมาชิก YouTube Premium ค่า RPM สามารถมีความแตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรายได้ในแต่ละช่วงเวลาหรือเนื้อหาในวีดิโอ ในบทความนี้น้องทู้ปจะสรุปปัจจัยหลัก 6 หัวข้อที่มีผลต่อค่า RPM ของ YouTube มาให้เพื่อนๆได้เข้าใจง่ายๆขึ้น


1. ประเภทของโฆษณา


สำหรับประเภทของโฆษณาที่แสดงบน YouTube มีอยู่สองประเภทหลักๆ คือ โฆษณาแบบ Auction (ประมูล) และ โฆษณาแบบ Reserve ซึ่งแต่ละประเภทส่งผลต่อรายได้ของครีเอเตอร์แตกต่างกันไป


  • Auction Ads: โฆษณาที่มาจากระบบประมูลของ YouTube ซึ่งค่าโฆษณาจะขึ้นอยู่กับผู้ที่เสนอราคาสูงสุดในแต่ละครั้ง มักจะเป็นโฆษณาที่เน้นจำนวนการแสดงผลและเป็นที่ต้องการตามการค้นหาหรือกลุ่มเป้าหมาย

  • Reserve Ads: เป็นโฆษณาที่แบรนด์ใหญ่ๆ จองล่วงหน้าและต้องการแสดงในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะมีค่าโฆษณาที่สูงและแพงกว่าเพราะเป็นโฆษณาที่เจาะจงและควบคุมให้แสดงในเนื้อหาที่ตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากกว่า


ประเภทโฆษณาที่แตกต่างกันเหล่านี้จะทำให้ครีเอเตอร์ได้รับค่า RPM ที่ไม่เท่ากัน และโฆษณา Reserve มักให้รายได้ที่มากกว่าการประมูลปกติอีกด้วย


รู้จักประเภทของโฆษณาบน YouTube เพิ่มเติมคลิก 👉🏻 โฆษณาบนยูทูปมีกี่รูปแบบ? | Creator Tricks


2. ช่วงเวลาของการโฆษณา

ฤดูกาลและช่วงเวลาของปี เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ค่า RPM เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีแคมเปญที่ใหญ่ๆและสำคัญในแพลตฟอร์ม E- Commerce อย่าง 9.9 , 10.10 ,11.11 ก็จะมีการโฆษณามากเป็นพิเศษ หรือแม้แต่ในวันหรือเทศกาลสำคัญๆ เช่น เทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ ฮาโลวีน เป็นต้น

  • ช่วงเทศกาล: ช่วงเวลาที่มีเทศกาลหรือแคมเปญสำคัญ เช่น Black Friday, Christmas, หรือ New Year จะมีค่า RPM ที่สูงขึ้นเนื่องจากผู้โฆษณาใช้จ่ายเงินกับการตลาดมากขึ้น

  • ช่วงที่มีการใช้จ่ายต่ำ: ในบางช่วงของปี เช่น เดือนมกราคมหรือฤดูใบไม้ร่วง ผู้โฆษณามักลดการใช้งบประมาณในการโฆษณา ทำให้ค่า RPM ลดลงตามไปด้วย


3. กลุ่มประเทศของคนดู

กลุ่มประเทศที่ผู้ชมของช่องครีเอเตอร์อาศัยอยู่มีผลอย่างมากต่อค่า RPM ของ YouTube

  • ประเทศที่ค่าโฆษณาสูง: ประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และบางประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ มักมีค่าโฆษณาที่สูงกว่า

  • ประเทศที่ค่าโฆษณาต่ำ: ในบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ หรือแอฟริกา ค่าโฆษณาอาจต่ำกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว


นอกจากนี้ยังมีบางประเทศที่ YouTube ไม่สามารถสร้างรายได้ได้ เช่น เกาหลีเหนือหรือซีเรีย ซึ่ง YouTube อาจไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงโฆษณา หรือมีกฎหมายและข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถสร้างรายได้จากการโฆษณาได้ ซึ่งหากยอดวิวผู้ชมส่วนใหญ่ของเราเกิดจากผู้ชมในกลุ่มประเทศนี้ ก็อาจส่งผลให้ค่า RPM ของเราลดต่ำลงได้


4. ความยาวของวีดิโอ

ความยาวของวีดิโอ มีผลต่อจำนวนโฆษณาที่สามารถแสดงได้ในวีดิโอหนึ่งๆ สำหรับวิดิโอสั้นที่มีความยาวต่ำกว่า 8 นาที การโฆษณาจะสามารถแสดงได้เพียงช่วงต้นและช่วงท้ายของวิดิโอเท่านั้น  แต่สำหรับวิดิโอที่มีความยาวมากกว่า 8 นาทีขึ้นไป ครีเอเตอร์สามารถใส่โฆษณา Midroll Ads หรือโฆษณาที่เล่นระหว่างวิดิโอ เพิ่มเติมในช่วงกลางของวีดิโอได้ ซึ่งก็เพิ่มโอกาสในการได้รับรายได้มากขึ้นและค่า RPM สูงขึ้นด้วย


5. ข้อจำกัดของวีดิโอ

YouTube มีข้อกำหนดและข้อจำกัดที่ครีเอเตอร์ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้สามารถแสดงโฆษณาได้อย่างเต็มที่ เช่น ลิขสิทธิ์และ Advertiser Friendly Guidelines


  • ลิขสิทธิ์: วีดิโอที่มีเนื้อหาที่ติดลิขสิทธิ์ เช่น เพลงที่ไม่มีสิทธิ์ใช้งาน จะไม่สามารถสร้างรายได้จากโฆษณาได้ หรือบางครั้งรายได้จะถูกแบ่งให้เจ้าของลิขสิทธิ์แทน

  • Advertiser Friendly Guidelines: วีดิโอที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน Advertiser Friendly อาจถูกจำกัดโฆษณาหรือไม่ได้รับโฆษณาเลย เช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรงหรือไม่เหมาะสม ทำให้ค่า RPM ต่ำลง


6. การใช้ YouTube Premium หรือ Adblock

สำหรับปัจจัยนี้ถือเป็นสิ่งที่ครีเอเตอร์ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับผู้ชมของเราล้วนๆเลยนั่นก็ คือ การใช้ YouTube Premium และ Adblock ค่ะ


  • YouTube Premium: หากผู้ชมที่รับชมวิดิโอของเราสมัครสมาชิก YouTube Premium ผู้ชมก็จะรับชมวีดิโอโดยไม่มีโฆษณา แต่เราก็จะได้รายได้จากผู้ชมกลุ่มนี้มาจากค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกนั่นเอง และ YouTube จะจ่ายส่วนแบ่งให้ครีเอเตอร์ที่ได้รับการรับชม ซึ่งจะส่งผลให้เราได้ค่า RPM ที่เพิ่มขึ้น

  • Adblock: หากผู้ชมที่รับชมวิดิโอของเรานั้นใช้ซอฟต์แวร์ Adblock เราก็จะไม่ได้รับโฆษณาเลย ทำให้ครีเอเตอร์เสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการแสดงโฆษณา ซึ่งอาจทำให้ค่า RPM ลดลง


ค่า RPM ของ YouTube มีความซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ตั้งแต่ประเภทของโฆษณา ช่วงเวลาของปี กลุ่มประเทศของผู้ชม ความยาวของวีดิโอ ข้อจำกัดของเนื้อหา ไปจนถึงการใช้ YouTube Premium หรือ Adblock ของผู้ชม ถ้าเพื่อนๆเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ได้ก็จะช่วยให้เพื่อนๆสามารถปรับกลยุทธ์การผลิตเนื้อหาและการทำตลาดได้ดีขึ้น รวมถึงสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จาก YouTube ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วยค่ะ😊

Nov 3, 2024

1 min read

1

19

bottom of page